ประโยชน์จากการเรียนดนตรีในวัยเด็ก
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าดนตรีมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะในแอพลิเคชันสำหรับฟังเพลง หรือคอนเสิร์ตต่าง ๆ ดนตรีเปรียบเสมือนเครื่องมือสื่อสารความรู้สึก ซึ่งเด็ก ๆ ก็ต่างหลงรักในเสียงดนตรีเหล่านี้
การส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้ทำความรู้จักกับเสียงดนตรีและการเล่นเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ล้วนมีประโยชน์มากมายเลยค่ะ เช่น สอนให้เด็ก ๆ มีความอดทนมากขึ้น ไปจนถึงการเพิ่มความมั่นใจในตัวเองค่ะ
แต่ถึงอย่างนั้น การเล่นเครื่องดนตรีไม่ได้หมายความว่า เด็ก ๆ จะต้องนั่งเรียนในห้องเรียน เรียนรู้ชื่อเครื่องดนตรี หรือ ทดลองเล่นเครื่องดนตรีเพียงไม่กี่ประเภท
เมื่อเด็ก ๆ ต้องการเรียนรู้ที่จะเล่นเครื่องดนตรี พวกเขาต้องมีส่วนร่วมกับเครื่องดนตรีนั้น ๆ และยังใช้ความอดทนและมุ่งมั่นอย่างมากเลยล่ะค่ะ หากเด็ก ๆ รู้สึกว่าพวกเขาเริ่มเล่นได้ดีขึ้น จากการเล่นดนตรีเพื่องานอดิเรกสนุก ๆ กลายเป็นทักษะพิเศษที่น่าภูมิใจสำหรับพวกเขา นั่นถือเป็นการประสบความสำเร็จที่ดีเลยค่ะ
ความสามารถพิเศษในการเล่นเครื่องดนตรียังเป็นการสร้างโอกาสมากมายให้กับเด็ก ๆ ด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการประกวดดนตรีในโรงเรียน การร่วมวงดนตรีในรั้วมหาวิทยาลัยเพื่อทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ หรือ เป็นเพียงแค่กิจกรรมยามว่าง
สานสัมพันธ์ภายในครอบครัว ทั้งหมดนี้คือความสุขและสนุกกับเสียงเพลงที่ไม่มีวันสิ้นสุดล่ะค่ะ
รู้อย่างนี้แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ ลองมาชมประโยชน์จากการเล่นดนตรีในวัยเด็กกันได้เลยนะคะ
- การพัฒนาด้านสมอง
ในบางครั้ง ประโยชน์ที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ส่วนมาก ที่ส่งให้เด็ก ๆ ไปเรียนดนตรีนั่นคือการพัฒนาด้านสมองของน้อง ๆ ซึ่งนักประสาทวิทยาพบว่าการเรียนดนตรีคือกุญแจสำคัญในการพัฒนาสมองเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นดนตรีช่วยกระตุ้นประสาทสมองส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานในการส่งเสียง
ภาษา และคำพูด สมองของเด็ก ๆ จะพัฒนาได้อย่างรวดรวดเร็ว พวกเขาสามารถเรียนรู้ตัวโน้ตและจับจังหวะเสียงได้ง่ายขึ้น นั่นส่งผลให้เด็ก ๆ มีสมาธิในการฟังคำอธิบายต่าง ๆ อย่างละเอียด และยังทำให้เด็ก ๆ ตั้งใจ เอาใจใส่ด้านการเรียนอย่างเห็นได้ชัดเลยล่ะค่ะ
การเล่นเครื่องดนตรี ต้องใช้สมองในการทำงานอย่างมาก การวิจัยพบว่าเด็ก ๆ ที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ มีการพัฒนาประสาทสัมผัสระหว่างมือและตา อีกทั้งยังมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอีกด้วย เวลาเด็ก ๆ ขยับนิ้วเพื่อเล่นกีตาร์หรือเปียโน ประสาทสัมผัสจะส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อพัฒนาต่อไป และหากเด็ก ๆ ยิ่งฝึกฝนมากขึ้น ประสาทสัมผัสที่ส่งไปยังสมองก็ยิ่งได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในทำนองเดียวกัน เมื่อเด็ก ๆ เรียนรู้ในการอ่านตัวโน้ตดนตรี ข้อมูลรูปภาพเหล่านี้ก็จะส่งไปยังสมองเพื่อประมวลผลอีกด้วย กระบวนการของสองประสาทสัมผัสนี้เปรียบเสมือนกับการกระตุ้นพัฒนาสมองในด้านใหม่ ๆ ของเด็ก ๆ เลยนะคะ
- การพัฒนาด้านอารมณ์
การพัฒนาด้านอารมณ์ของเด็ก ๆ จะดีขึ้นจากการได้เล่นเครื่องดนตรี และยังมีแนวโน้มที่จะเสริมสร้างบุคลิกของเด็ก ๆ ให้ดีขึ้นจากการมีความรับผิดชอบ การฟังและตอบสนองต่อสิ่งเร้าเฉกเช่นดนตรี ช่วยกระตุ้นการประมวลผลทางอารมณ์ได้มากมาย และเด็ก ๆ อาจเรียนรู้การมีความเห็นอกเห็นใจได้แต่อายุยังน้อยด้วยค่ะ
มีงานวิจัยมากมายที่เกี่ยวกับความรู้สึกของการได้เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มคน เช่นการอยู่ในวงดนตรี หรือคณะนักร้องประสานเสียง สามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจของเด็ก ผ่านทักษะการทำงานเป็นทีม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
ในขณะเดียวกัน การเล่นเครื่องดนตรียังเป็นวิธีที่ทำให้จัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่แหละค่ะคือเหตุผลที่ว่าเพลงหลายเพลงถูกแต่งขึ้นเพื่อเยียวหาหัวใจที่แตกสลาย
- การพัฒนาด้านความอดทน
การเล่นเครื่องดนตรีช่วยให้เด็ก ๆ มีพื้นที่ปลอดภัยในการฝึกฝนและเรียนรู้ความผิดพลาด อีกทั้งยังเพิ่มทักษะในการรับฟังความคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงตนเอง จากนั้นเด็ก ๆ ก็จะเริ่มมีความเชื่อมั่นในตนเองหากพวกเขาเห็นว่าการปรับปรุงตนเองมีผลตอบรับไปในทางที่ดี การเล่นเครื่องดนตรีไม่ได้เสริมสร้างความมั่นใจแค่ตอนที่พวกเขาใช้เวลาคล้อยกับเสียงเพลงเท่านั้น แต่ยังทำให้พวกเขามั่นใจมากขึ้นในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ
เมื่อเด็ก ๆ เห็นว่าการตั้งใจอย่างหนักของพวกเขาได้ผล ความมั่นใจและความภาถภูมิใจในตนเองก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ บางทีการเล่นดนตรีอาจจะช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจเพิ่มขึ้นในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยลองทำมาก่อนได้อย่างก้วกระโดดก็เป็นได้นะคะ
ไม่ว่าเหตุผลที่คุณพ่อ คุณแม่จะส่งลูกไปเรียนดนตรี หรือ เครื่องดนตรีที่เด็ก ๆ เลือกเรียน ล้วนเป็นความคิดที่ดีมาก ๆ เลยค่ะ ลองให้เด็ก ๆ ทดลองเล่นเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจนกว่าพวกเขาจะเจอกับเครื่องดนตรีที่เข้าขามากที่สุด
นี่แหละค่ะคือปัจจัยสำคัญในการเล่นเครื่องดนตรีเป็น
มารับชมความสามารถของเด็กจิ๋วที่ทักษะไม่จิ๋วกันได้เลยนะคะ
SOURCE : BKKKids.com